วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระบบหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบคอมม่อนเรล (Common Rail Injection System )

คำว่าคอมม่อนเรล สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล คงจะเริ่มคุ้นหูกันมากขึ้นในระยะหลังนี้ ในขณะที่เทคโนโลยีนี้ พัฒนามากว่า 20 ปีแล้ว คอมม่อนเรล มีสภาพเหมือนเป็นรางกักเก็บเชื้อเพลิง ที่ภายในมีความดันสูงอยู่ตลอด และความดันนี้ก็จะส่งผ่านไปที่หัวฉีด เมื่อหัวฉีดได้รับสัญญาณ ก็จะเปิดให้น้ำมันดีเซล พุ่งผ่านลงไปในห้องเผาไหม้ การนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ของเครื่องยนต์ดีเซล ขึ้นจากระบบเดิมๆ รวมไปถึงระบบไดเร็คอินเจ็คชั่นด้วย ในระบบไดเร็คอินเจ็คชั่นนั้น หัวฉีดจะได้รับการจ่ายเชื้อเพลิงโดยตรง จากปั๊มหัวฉีด สำหรับในระบบคอมม่อนเรลนี้ ปั๊มจะส่งน้ำมันไปที่รางน้ำมันเชื้อเพลิงความดันสูงที่เรียกว่าคอมม่อนเรล ซึ่งความดันอาจสูงถึง 1,350 บาร์ และที่หัวฉีดจะมีการส่งสัญญาณกลับมาที่ปั๊มด้วย รวมทั้งยังมีการควบคุมจาก ECU ร่วมอยู่ด้วย ทั้งหมดจะส่งผลให้มีการใช้น้ำมัน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้เครื่องยนต์ดีเซลในระบบนี้ ประหยัดน้ำม้น และให้กำลังดีขึ้น
ระบบนี้มีใช้ในเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่มานานแล้ว ก่อนที่จะเริ่มมีการพัฒนา ให้อุปกรณ์ต่างๆ มีขนาดเล็กลง และนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับรถยนต์นั่งในปัจจุบัน เครื่องยนต์ดีเซลระบบ คอมม่อนเรล เริ่มมีวางจำหน่ายแล้งในยุโรป ดินแดนที่มีความนิยม การใช้เครื่องยนต์ดีเซลอย่างมาก ในรถยนต์นั่ง

commonrailsystem

คอมม่อนเรลเป็นระบบควบคุมการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยอีเล็คทรอนิคส์ แตกต่างจากปั๊มหัวฉีดโดยทั่วไป ประกอบด้วย

  1. ปั๊มจ่ายน้ำมัน (supply pump)
  2. รางคอมม่อนเรล (common rail)
  3. หัวฉีด (injector)
  4. เซ็นเซอร์ต่างๆ
  5. ระบบควบคุมคอมพิวเตอร์ (ECU)

1. ปั๊มจ่ายน้ำมัน (supply pump) จะถูกขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์เพื่อสร้างน้ำมันแรงดันสูงขึ้นมา

commonrail_supply_pump

ปั๊มจ่ายน้ำมันประกอบด้วย ตัวปั๊ม(main body)  feed pump และลิ้นควบคุมปั๊ม (Pump Control Valve หรือ PCV) ที่มีหน้าที่ปล่อยน้ำมันตามคำสั่งของ ECU ปั๊มนี้ถูกขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ ตัวปั๊มทำหน้าที่ดูดและจ่ายน้ำมันโดยอาศัยการทำงานของ plunger ในการเคลื่อนที่ขึ้นลง

ปั๊มดูดน้ำมัน (Feed pump)

โรเตอร์ของปั๊มดูดน้ำมันเชื้อเพลิง (feed pump) ประกอบไปด้วย

  • แกนที่ต่อกับเพลาข้อเหวี่ยง (Cam Shaft)
  • โรเตอร์ (Rotor)
  • ใบจักร (Vane)
  • ห้องแรงดัน (Pressure chamber)

ในขณะที่แกนโรเตเตอร์หมุน ก็จะทำให้ใบจักรหมุนไปด้วยในลักษณะแรงเหวี่ยงหนึศูนย์ เพราะว่าโรเตอร์ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางในห้องแรงดัน ทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ระหว่างใบจักร (Vane) ถูกบีบอัดให้เกิดแรงดันขึ้นมา

2. รางคอมม่อนเรล (common rail)

ราง common rail

ชิ้นส่วนที่เรียกว่า รางคอมม่อนเรลนี้จะถูกยีดติดกับท่อร่วมไอดี (intake manifold) ทำหน้าที่จ่ายน้ำมันแรงดันสูงที่ถูกสร้างโดย ปั๊มจ่ายน้ำมันไปให้หัวฉีดในกระบอกสูบแต่ละอัน อุปกรณ์ที่ยึดติดอยู่กับคอมม่อนเรล มีดังนี้

  • Flow damper
    ท่อส่ง น้ำมันแรงดันสูงจะถูกต่อกับ flow damper เพื่อลด  fluctuation ของแรงดันภายในรางคอมม่อนเรลและภายในท่อแรงดันสูง รวมทั้งช่วยปิดน้ำมันที่ ไหลผ่านถ้ามีน้ำมันผ่าน flow damper มากเกินไป
  • Pressure limiter
    เป็นตัวจำกัดความดันภายในรางคอมม่อนเรลไม่ให้สูงเกินไป

3. หัวฉีดน้ำมัน (injetor) ถูกติดตั้งไว้ในกระบอกสูบของเครื่องยนต์แต่ละสูบ น้ำมันแรงดันสูงที่ถูกส่งมาจากปั๊มจ่ายน้ำมันจะถูกส่งให้หัวฉีดในแต่ละ กระบอกสูบโดยผ่านรางคอมม่อนเรล ปริมาณการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงและจังหวะในการฉีดจะถูกควบคุมโดยระบบควบคุมหัว ฉีด (controlling the injector)

หัวฉีด (Injector)

injector-commonrail  injector commonrail

ตัวหัวฉีดประกอบด้วย

  • วาล์วโซลีนอยด์แบบสามทาง (three-way solenoid valve (TWV))
  • orifice
  • ลูกสูบไฮดรอลิก (hydraulic piston)
  • หัวฉีด (nozzle)

เมื่อ ECU ส่งสัญญาณมาให้วาล์ว TWV ทำงานน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงในท่อควบคุมจะไหลผ่าน orifice แล้วดันเข็มหัวฉีดให้เปิดออก น้ำมันก็จะถูกฉีดออกทางหัวเข็ม และเมื่อ ECU ส่งสัญญาณมาให้วาล์ว TWV หยุดทำงาน น้ำมันที่ไหลผ่าน orifice จะถูกแรงจากลูกสูบไฮดรอลิกดันวาล์วเข็มหัวฉีดไว้ น้ำมันก็จะหยุดฉีด

3. เซนเซอร์ต่างๆ ที่ทำงานร่วมกับหัวฉีด

  • เซนเซอร์ตรวจจับตำแหน่งการเร่ง (Accelerator position sensor)  ทำหน้าที่เปลี่ยนแรงที่กดคันเร่งไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อส่งให้ ECU
  • เซนเซอร์ตรวจจับรอบเครื่องยนต์ (Engine (NE sensor) speed sensor) มีใช้ด้วยกันสองชนิด

    - engine speed sensor  ติดตั้งอยู่บนเสื้อล้อช่วยแรง (fly wheel) ทำหน้าที่ตรวจจับความเร็วเครื่องยนต์และ  ตำแหน่งข้อเหวี่ยง

              - auxiliary engine speed sensor ติดตั้งอยู่บนปั๊มจ่ายน้ำมันเพื่อส่งสัญญาณ cylinder distinction

  • เซนเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel temperature sensor) โดยใช้เทอร์โมมิสเตอร์ที่ความต้านทานแปรค่าตามอุณหภมิมาตรวจจับอุณหภูมิของน้ำมันเชื้อเพลิง
  • เซนเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น (Coolant temperature sensor) โดยใช้เทอร์มิสเตอร์เช่นเดียวกัน
  • เซนเซอร์ตรวจจับแรงดันในรางคอมม่อนเรล (Common rail pressure sensor) เซนเซอร์ตัวนี้ถูกติดตั้งอยู่ในรางคอมม่อนเรล เป็นเซนเซอร์วัดแรงดันแบบเซมิคอนดัตเตอร์ โดยความต้านทานจะแปรค่าไปเมื่อมีแรงดันมาตกกระทบซิลิคอน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น